บริหารเวลา สร้างงานให้ได้ตามเป้า

        ข้อเท็จจริงของการทำงานแบบฟรีแลนซ์ก็คือ เราต้องควบคุมตัวเอง เป็นนายตัวเอง ไม่มีคนมาคอยจี้งาน ดูแลความคืบหน้า หากเราหย่อนยาน ก็ไม่มีใครมาต่อว่า จะรู้ตัวอีกทีก็คืองานไม่ทันส่ง
หรือต้องมาทำงานแบบปั่น ๆ เผา ๆ ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่อาจคาดหวังคุณภาพงานได้อย่างที่ลูกค้าต้องการ ในชีวิตการทำงานแต่ละวันของฟรีแลนซ์ อาจมีเรื่องให้เสียสมาธิได้มากมาย แว้บ ๆ ก็หมดไปอีกวันหนึ่งแล้ว เรามีเทคนิคที่จะช่วยดูแลให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นและควบคุมการผลิตงาน
ให้อยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง

ต้องใช้ To-Do List
สิ่งสำคัญสุด ๆ ของการเป็นฟรีแลนซ์มืออาชีพที่คาดหวังว่าจะมีผลงานสม่ำเสมอและเพิ่มระดับรายได้ให้เท่ากับหรือมากกว่าการทำงานประจำ เราต้องรู้จักสร้างทักษะในการบริหารเวลาและจัดการงาน
การใช้รายการต้องทำ เป็นตัวช่วยหนึ่งที่สำคัญและได้ผลดี
เมื่อมีการบันทึกข้อมูล อย่างเคร่งครัด จะช่วยให้เราทราบสถานะและรู้ว่าในแต่ละวันต้องทำอะไรบ้าง มีความเร่งด่วน ความสำคัญอย่างไร จะได้รู้ว่าควรทำอะไรก่อนหรือหลัง กลยุทธ์ที่ดีก็คือ แบ่ง
To-Do List ออกเป็นสองประเภท คือ รายการสิ่งที่จะทำในระยะยาว และรายการสิ่งที่จะทำภายในระยะเวลาสั้น ๆ นอกจากสิ่งที่ต้องกำหนดระยะเวลาสำหรับงานแต่ละชิ้นที่เขียนลงใน To-Do List
ให้สมเหตุสมผลด้วย ไม่ใช่สักแต่เขียนไปลอย ๆ หรือเขียนแล้วไม่ปฏิบัติตาม ก็ย่อมไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา

บริหารเวลา บริหารชีวิต
องค์ประกอบสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่มีผลต่อประสิทธิผลในการทำงานที่จะได้รับก็คือ การบริหารและจัดสรรเวลา การลงบันทึกเวลาอย่างจริงจังสำหรับ การทำงานมีผลต่อรายได้ ฟรีแลนซ์จำนวนมาก
คิดค่าตอบแทนต่อชั่วโมงและถึงแม้จะไม่ได้คิดค่าตอบแทนต่อชั่วโมงก็ตาม การบันทึกเวลาที่ใช้ไปกับงานต่าง ๆ ในแต่ละวันก็มีความสำคัญมากอยู่ดี เพราะมันจะสะท้อนให้เห็นว่าเราเสียเวลาไปกับเรื่อง
อะไรมากจนเกินไปหรือเปล่า อะไรที่เราใช้เวลาไปได้แบบพอเหมาะพอดี ซึ่งหากไม่ใช้กระดาษก็มีซอฟต์แวร์มากมายสำหรับช่วยในการบริหารจัดการเวลา
รับมือกับปัจจัยรบกวนอนาคต
การที่จู่ ๆ พนักงานบริษัทจะหันมาดูแลชีวิตตัวเอง บริหารเวลาเพื่อตัวเองนั้นก็เทียบได้เหมือนกับการที่เด็กมัธยมที่มีครูคอยดูแล จู่ ๆ ก็ได้รับอิสระมาเมื่อไปเรียนมหาวิทยาลัย ไม่มีใครคอยสนในคุณจะเข้า
เรียนหรือไม่ คุณจะใช้เวลาไปอย่างไร เพราะลงท้ายผลเสียจะเป็นเรี่องของตัวคุณเองเต็ม ๆ
ตอนเป็นพนักงาน ไม่ว่ายังไง คุณอาจจะเสียสมาธิไปกับเรื่องนั้น เรื่องนี้บ้าง พอปลายเดือนก็มีเงินเดือนออกมาให้ แต่เมื่อเป็นฟรีแลนซ์ รับผิดชอบชีวิตตัวเอง ยิ่งเราเสียสมาธิไปนอกเรื่อง นอกลู่
นอกทางมากเท่าไหร่ ปลายเดือนอาจไม่มีงานที่แล้วเสร็จและรายรับอาจจะซ็อตได้ดื้อ ๆ หากคุณไม่ทำงานก็หมายถึงไม่มีรายรับเข้ามาในบัญชี ฟรีแลนซ์มืออาชีพจึงต้องมีวินัยในตัวเองสูงพอควร
ฟรีแลนซ์หลายคนปล่อยตัวตามสบาย ตื่นสาย ๆ ทำงานจนดึก เราแนะนำว่าหากเป็นไปได้ พยายามทำตัวให้เป็นเหมือนกับการทำงานออฟฟิศ คือ ทำงานในชั่วโมงปกติ เพราะทำงานดึก ๆ ไปก็ส่งผลให้
ชีวิตในอีกวันกว่าจะเริ่มงานนั้นสายหรือบ่าย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีอะไรเลย
เรื่องการตรงต่อเวลา เป็นหัวใจสำคัญสุด ๆ ของฟรีแลนซ์ ต้องท่องไว้ให้ขึ้นใจว่างานทุกงานที่รับมาย่อมมีเส้นตายกำหนดให้อยู่แล้ว หากไม่แน่ใจว่าจะทำงานได้ทันกำหนดนั้น ๆ ทางเลือกที่ดีกว่าก็คือ
อย่าไปรับงานนั้นมาแล้วทำไม่ได้ตามคำพูด รับปากลูกค้าไว้อย่างไร ต้องให้เป็นไปตามนั้นเสมอ ไม่มีข้อแก้ตัว ไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ ทั้งสิ้น...

ดูแลตัวเองให้ดี

     นอกจากทำงานให้ดีที่สุดแล้ว เราต้องไม่ลืมดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีด้วย โรคของคนทำงานปัจจุบันมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วนที่เกิดจากการนั่งทำงานตลอด ไม่ค่อยได้ขยับออกกำลังกาย
โรค RSI หรือความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ ในท่าเดิม ๆ การปวดหลังก็เป็นอาการอย่างหนึ่งของความเจ็บป่วยจากการทำงาน การนั่งทำงานด้วยท่าทางไม่ถูกต้อง รวมทั้งความเครียดด้วย

    ฟรีแลนซ์จำนวนมากทำงานโดยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค RSI เช่น การทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค นั่งทำงานบนเตียง หรือโต๊ะที่ไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ยังอาจทำงานยาวนานข้ามวัน
ข้ามคืนจนกลายเป็นเรื่องปกติ การทำงานอิสระยังงทำให้ขาดปัจจัยที่จะมาบังคับให้เราลุก ขยับ เดินปรับเปรียนท่าทาง ขณะที่การทำงานประจำมีการประชุม มีคอฟฟี่เบรก การเดินทาง หรืกระทั้ง
การต้องลุกไปถ่ายเอกสาร มาเป็นตัวบังคับให้มีการเคลื่อนไหวร่างกาย
สำหรับคนที่เป็นฟรีแลนซ์อยู่แล้ว ลองตรวจสอบตัวเองว่ามีอาการปวดล้าตามบริเวณต่าง ๆ จนเรื้อรังหรือไม่ เช่น ข้อมือ หลัง หัวไหล่ บั้นเอว มือหรือข้อนิ้ว หรือมีอาการชาผิดปกติหรือเปล่า ซึ่งอาจ
เกิดจากการไหลเวียนของเลือดลมไม่ปกติ รวมทั้งอาการปวดเมื่อย ล้าของกล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ
วิธีการรับมือและป้องกันกับความเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานได้แก่
จัดท่านั้งให้ถูกต้อง
สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ เลือกใช้และปรับตำแหน่งเก้าอี้นั่งให้เหมาะสม นั่งให้สะโพกติดด้านในสุดของเก้าอี้ และที่สำคัญซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะทำไม่ถูกต้องก็คือ เท้าทั้งสองขอ้างต้องวางราบไปกับพื้น
ไม่ไขว้ขา ไม่ยกขามาวางบนขาเก้าอี้ หรือปรับเก้าอี้จนขาลอยขึ้นจากพื้น หัวเข่าทั้งสองข้างต้องอยู่ในระนาบเดียวกับสะโพก
หากมีเก้าอี้พนักงานแบบพักแขนให้ปรับได้ ก็สามารถวางแขนทั้งสองข้างได้โดยหัวไหล่รู้สึกสบาย ผ่อนคลาย ไม่เครียดเกร็ง หากรู้สึกว่าต้องเกร็งหัวไหล่นั้นเป็นสัญญาณว่าการปรับตำแหน่งไม่
เหมาะสม
สุดท้ายคือ หลัง ต้องนั่งทำงานโดยแผ่นหลังตรง ไม่คดงอ หากไม่ได้อาจต้องหาหมอนมาหนุนหลัง

จัดหาเวลาเบรกงานเป็นระยะ
ฟรีแลนซ์จำนวนมากมีนิสัยเสียอย่างหนึ่ง คือ มักจะเผลอลืม จะโดยจงใจหรือไม่จงใจก็ตามแต่ คือมักจะนั่งทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ
ลองนึกสภาพตัวเองทำงานดูก็คงจะพอนึกออก หลายคนมักจะทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ครั้งละ หลายชั่วโมง ในท่าเดิม ๆ ปัญหาก็คือ ร่างกายของเราไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้รับการทำงาน
แบบนั้น สามารถเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกายและลดความเมื่อยล้าได้โดยทุก ๆ ครึ่งชั่วโมงให้ลุกจากเก้าอี้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนอิริยาบทบ้าง ขยับแข้ง ขยับขาให้เลือดลมสูบฉีดบ้าง และเมื่อผ่านไปสักชั่วโมง
 หาเวลา 5 หรือ 10  นาที เบรก เดินไปเดินมา หรือถือโอกาสเข้าห้องน้ำ ตรงนี้มีเทคนิคคือพยามยามดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ ถ้าเราดื่มน้ำมากพอก็จะได้บังคับตัวเองให้เข้าห้องน้ำไปปัสสาวะได้บ่อย
ขึ้น และส่งผลดีต่อร่างกายไปในตัว อย่าลืมว่าหมอแนะนำให้เราดื่มน้ำวันละแปดแก้วเป็นอย่างน้อยนะครับ สาว ๆ ยิ่งต้องระวัง ยิ่งในรายที่ดื่มน้ำน้อยและชอบนั่งทำงานต่อเนื่องนาน ๆ อั้นปัสสาวะทั้งที่ปวด หลายรายพบว่าตัวเองลงเอยด้วยอาการป่วยเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะหรือทางเดินปัสสาวะอักเสบ
อย่างรุนแรง
พักสายตาโดยเปลี่ยนไปมองอะไรอย่างอื่นที่มีสีเขียว ๆ บ้างเพื่อให้สายตาลดอาการล้าจากการเพ่งมองจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องนานเกินไป หากมีกระจกให้ทอดสายตาไปไกล ๆ สำหรับคนที่มองจอคอมฯ
จนรู้สึกตาพร่านั้น เป็นสัญญาณบอกว่าคุณต้องพักสายตานานขึ้นกว่าเดิมแล้วล่ะครับ

อย่ากินมื้อเที่ยงที่โต๊ะทำงาน
เวลาที่มีงานด่วน งานเร่ง และเร่งมากที่สุดเข้ามา หลายคนยอมทานมื้อเที่ยงที่โต๊ะทำงาน หรือหนักข้อขนาดไม่กินอะไรเลยก็มี นี่เป็นทางเลือกที่ไม่เข้าท่า หากหลีกเลี่ยงได้อย่าทำและพยายาม
ออกไปทานข้าวที่อื่นที่ไม่ใช่โต๊ะทำงานจะดีที่สุด....