สำหรับฟรีแลนซ์มือใหม่ ที่เพิ่งเริ่มต้นอาจจะยังมีตัวอย่างผลงานไม่มากนัก หรือแทบจะไม่มีเลย นอกจากนี้นายจ้างยังไม่อนุญาตให้เอาผลานที่เคยทำให้ลูกค้าดูในการรับงานฟรีแลนซ์ของตัวคุณเอง หรือปัญหาอีกอย่างคือการเริ่มต้นในสายงานที่ยังมีประสบการณ์ไม่มากนัก
แล้วจะแก้ไขได้อย่างไร คำตอบก็คือต้องรับงานครับ เพื่อสร้างผลงานให้มากและมากขึ้น อาจจะต้องทำใจสักนิดว่าค่าตอบแทนที่ได้รับในช่วงแรกอาจจะไม่มากมายอะไร ผมเพิ่งอ่านหนังสือของน้องดีเจคนหนึ่งที่เขียนหนังสือตอนอายุ 24 ปีก็หาเงินล้านบาทแรกได้แล้ว เขาบอกว่าเริ่มต้นจากการรับงานที่ได้เงินบ้าง ไม่ได้เงินบ้าง รับหมด ครั้นต่อมาได้เป็นดีเจ ก็ยังไม่ได้เลิกรับงานจ๊อบ งานอีเวนต์ ค่าตัวจากชั่วโมงละร้อยสองร้อยก็ค่อย ๆ ขยับขึ้นมาเป็นหลายร้อยจนกลายเป็นหลายพันบาท
ฟรีแลนซ์ก็เช่นกัน หากจำเป็น ในช่วงแรกทำไปเถอะครับงานการกุศล งานที่ได้ค่าตอบแทนไม่มากนัก แต่ใส่ฝีมือเข้าไปให้เต็มที่ คิดเสมอว่างานที่ผ่านมือเราจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตงานในชีวิตฟรีแลนซ์ของเรา หรือกระทั้งงานของเพื่อน ๆ ของคนในครอบครัว สักระยะจากการไม่มีพอร์ตงานเลย เราก็จะเปลี่ยนเป็นมีพอร์ตงานในระดับหนึ่งและเพิ่มสะสมงานได้มากขึ้นเรื่อย ๆ
ข้อความและการนำเสนอในพอร์ตเป็นสิ่งสำคัญ อย่าใช้ภาษาที่เยิ่นเย้อหรือโอเว่อร์จนเกินไป ผลงานที่คุณทำพูดได้เสียงดังกว่าอยู่แล้ว อย่าเสียเวลานำเสนองานในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องมากจนเกินไป แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าให้ใช้ภาษาที่ถ่อมตัวเสียจนดู “ไม่มีราคา” เช่น
รับหมดทุกงาน รับทุกประเภทขอให้มีข้าวกินก็พอ
ผมมือใหม่ ขอโอกาสทำงานหน่อยนะครับ
หนูเป็นโปรแกรมเมอร์ อยากขอโอกาสเขียนโปรแกรมเว็บแอพฯ
อะไรทำนองนี้ ต้องมั่นใจครับ ถ้าเราไม่มั่นใจแล้วใครจะมาไว้ใจให้เรารับผิดชอบงานให้ละครับ
No comments:
Post a Comment