เลือกโครงสร้างธุรกิจ

อาจเลือกจัดตั้งหรือจดทะเบียนธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้น หรืออาจจะหรือไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ได้ ตรงนี้สุดแท้แต่ความเหมาะสมและความต้องการของตัวคุณเอง โดยทั่วไป จะมีทางเลือกต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

นิติบุคคล (จดทะเบียนจัดตั้งตามกฏหมาย)
-ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
-ห้างหุ้นส่วนจำกัด
-บริษัทจำกัด
-บริษัทมหาชนจำกัด (อันนี้คงไม่เกี่ยวกับฟรีแลนซ์)

-กิจการร้านค้า
-ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ทั้งนี้รายละเอียดปลีกย่อยของโครงสร้างแต่ละประเภทธุรกิจ กฏระเบียบ ข้อบังคับและการเสียภาษีจะมีความแตกต่างกันไป สามารถไปดูรายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ที่ http://www.dbd.go.th/
นอกจากส่วนของการจดหรือไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ส่วนสำคัญที่จะตามมาของเรื่องบัญชีและการนำส่งภาษี ที่เป็นเรื่องสำคัญหลังจากจดทะเบียนแล้วจะมีการกำหนดหมายเลขผู้เสียภาษีให้ใช้ระบุในการยื่นภาษีประจำปี ลองปรึกษาเพิ่มเติมเหล่านี้ได้จากบริษัทที่รับดำเนินการด้านบัญชีและการตรวจสอบบัญชี

ในส่วนของระบบเอกสารบัญชีนั้น ช่วงเริ่มต้นมักจะไม่ได้ซับซ้อน ยุ่งยากอะไรนัก หากคุณพอจะมีความเข้าใจในเรื่องนี้บางก็อาจเริ่มต้นด้วยการจัดการทำเอง โดยจดบันทึกรายละเอียดรายรับรายจ่ายต่าง ๆ เองไปก่อน โดยไม่ต้องว่าจ้างพนักงานบัญชีมาเป็นพนักงานในบริษัท แต่จะให้ดีก็หาบริษัทที่ปรึกษาด้านบัญชีมาวางระบบให้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะไม่ว่าจะอย่างไรก็ต้องมี ผมเคยเจอน้องคนหนึ่งเปิดบริษัทเพื่อรับงานฟรีแลนซ์นอกเวลาทำงานประจำ เธอมีงานค่อนข้างสม่ำเสมอ แต่ที่ไม่น่าเชื่อก็คือ เธอไม่เคยยื่นเสียภาษีประจำปีเลย มารู้ตัวอีกทีก็ตอนที่สรรพากรส่งจดหมายเชิญไปพบนั้นหล่ะครับ

เรื่องสำคัญอีกส่วนก็คือ ไม่ว่าจะเลือกใช้โครงสร้างธุรกิจในรูปแบบใดก็ตาม ต้องแยกบัญชีการเงินของธุรกิจให้ขาดออกจากบัญชีการเงินส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการเผลอใช้เงินปะปนกัน ซึ่งจะส่งผลเสียมากกว่าดี รวมทั้งยุ่งยากเมื่อถึงเวลาต้องการทำเอกสารด้านภาษี...

No comments:

Post a Comment